เมนู

ร้อนระอุ เวทนาเหมือนไฟ. หรือพึงเห็นว่า อารมณ์ที่เป็นไป เหมือนไม้
สีไฟอันบน ผัสสะเหมือนไม้สีไฟอันล่าง.
จบอรรถกถาอรหันตสูตรที่ 9

10. อุปปฏิกสูตร



อินทรีย์ 5 มีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย



[956] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้ 5 ประการ
เป็นไฉน คือ ทุกขินทรีย์ 1 โทมนัสสินทรีย์ 1 สุขินทรีย์ 1 โสมนัส-
สินทรีย์ 1 อุเบกขินทรีย์ 1.
[957] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท
มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ทุกขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
ทุกขินทรีย์นี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และทุกขินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่อง
ปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า ทุกขินทรีย์นั้นไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ
ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้
เธอย่อมรู้ชัดทุกขินทรีย์ เหตุเกิดแห่งทุกขินทรีย์ ความดับทุกขินทรีย์ และ
ข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ทุกขินทรีย์ที่
เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร
มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือ
ในที่นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้รู้แล้วซึ่งความดับแห่งทุกขินทรีย์ และน้อมจิต
เข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น.

[958] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท
มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว โทมนัสสินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
โทมนัสสินทรีย์เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และโทมนัสสินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มี
เครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า โทมนัสสินทรีย์นั้นไม่ต้องมี
นิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้ มิใช่
ฐานะที่จะมีได้ เธอย่อมรู้ชัดโทมนัสสินทรีย์ เหตุเกิดแห่งโทมนัสสินทรีย์
ความดับแห่งโทมนัสสินทรีย์ และข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งโทมนัส
สินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็โทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือ
ในที่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าทุติยฌาน อันมี
ความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ โทมนัสสินทรีย์ที่เกิด
ขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้รู้แล้วซึ่งความ
ดับแห่งโทมนัสสินทรีย์และน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น.
[959] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท
มีความเพียร มีความเด็ดเดี่ยว สุขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
สุขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และสุขินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่อง
ปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า สุขินทรีย์นั้นไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ
ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้
เธอย่อมรู้ชัดสุขินทรีย์ เหตุเกิดแห่งสุขินทรีย์ ความดับแห่งสุขินทรีย์ และ
ข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งสุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็สุขินทรีย์ที่เกิด
ขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม
วินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติ
สิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มี

อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข สุขินทรีย์เกิดขึ้นเเล้ว ย่อมดับไปไม่เหลือในที่นี้
ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้รู้แล้วซึ่งความดับแห่งสุขินทรีย์ และน้อมจิตเข้าไปเพื่อ
ความเป็นอย่างนั้น.
[960] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท
มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว โสมนัสสินทรีย์เกิดขึ้น เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า
โสมนัสสินทรีย์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และโสมนัสสินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ
มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า โสมนัสสินทรีย์นั้นไม่
ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้
มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เธอย่อมรู้ชัดโสมนัสสินทรีย์ เหตุเกิดแห่งโสมนัสสินทรีย์
ความดับแห่งโสมนัสสินทรีย์ และข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งโสมนัส-
สินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็โสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือใน
ที่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าจตุตถฌานไม่มีทุกข์
ไม่มีสุข และละทุกข์ละสุขและดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็น
เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ โสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่
นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้รู้แล้วซึ่งความดับแห่งโสมนัสสินทรีย์ และน้อมจิต
เข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น.
[961] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท
มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อุเบกขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
อุเบกขินทรีย์ นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และอุเบกขินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มี
เครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า อุเบกขินทรีย์นั้นไม่ต้องมีนิมิต
ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่
จะมีได้ เธอย่อมรู้ชัดอุเบกขินทรีย์ เหตุเกิดแห่งอุเบกขินทรีย์ ความดับแห่ง
อุเบกขินทรีย์ และข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งอุเบกขินทรีย์ที่เกิดขึ้น

แล้ว ก็อุเบกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนโดยประการทั้งปวง
แล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อุเบกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่
เหลือในที่นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้รู้แล้วซึ่งความดับแห่งอุเบกขินทรีย์ และ
น้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น.
จบสูตรที่ 10
จบสุขินทริยวรรคที่ 4

อรรถกถาอุปปฏิกสูตร



อุปปฏิกสูตรที่ 10.

ยถาธรรมเทศนาที่ไม่จำเป็นต้องแสดงพึงทราบ
ว่า ชื่อว่าเป็นสูตรที่นอกเหนือไปจากลำดับ (ไม่เข้าลำดับ) เหมือนอย่างสูตร
ที่เหลือในอินทริยวิภังค์แม้ที่กล่าวแล้วตามลำดับนี้.
ในสูตรที่ 10 นั้น คำทั้งหมดเป็นต้น ว่า นิมิต เป็นคำใช้แทนปัจจัย
นั่นเอง. คำว่า และย่อมรู้ชัดทุกขินทรีย์ คือ ย่อมรู้ด้วยอำนาจทุกขสัจนั่น
เอง. คำว่า ทุกฺขินฺ ทริยสมุทยํ คือวิญาณที่สหรคตด้วยทุกข์ ย่อม
เกิดขึ้นแก่ผู้ที่ถูกหนามตำเอา ถูกเรือดกัด หรือถูกรอยย่นที่ปูนอนกระทบ
ย่อมรู้ชัดสิ่งนั้นว่าเป็นเหตุให้เกิดขึ้นพร้อมของทุกขินทรีย์นั้น. พึงทราบสมุทัย
ด้วยอำนาจเหตุแห่งอินทรีย์เหล่านั้นแม้ในบทเป็นต้นว่า โทมนสฺสินทริย-
สมุทยํ
ข้างหน้า. โทมนัสสินทรีย์ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจความฉิบหาย
แห่งสังขารข้างนอกมีบาตรและจีวรเป็นต้น หรือแห่งเหล่าสัตว์มีสัทธิวิหาริก
เป็นต้น ด้วยประการฉะนี้ ย่อมรู้ชัดความฉิบหายแห่งสังขารและสัตว์